บทความเกี่ยวกับบ้าน > เกร็ดความรู้เรื่องบ้าน

ภาระจำยอม ไม่ใช่ ภาวะจำยอม หมายถึงอะไร อายุความเท่าไหร่

(1/1)

vipdee:
บางครั้งเรื่องกฎหมายเกี่ยวกับบ้านและที่ดินเป็นเรื่องใกล้ตัว รู้ไว้ดีกว่าจะมีประโยชน์ วันนี้เราอยากจะบอกกับผุ้ที่กำลังเจอปัญหาเรื่องที่ดิน ทำให้เกิดภาระจำยอมขึ้น เรื่องนี้บางครั้งอาจไม่ใช่คุณที่เจอ แต่อาจเป็นญาติ เพื่อน คนรัก ถ้าเรามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภาระจำยอม คุณย่อมทำให้อีกฝ่ายหนึ่งคลายความกังวลได้แน่นอน วันนี้เรามาเรียนรู้คำว่า ภาระจำยอมกันหน่อยดีกว่า คือ การที่เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ต้องรับกรรมบางอย่างที่เป็นการจำกัดสิทธิในทรัพย์สินของตน หรือต้องการงดเว้นการกระทำการบางอย่างในการใช้สอยอสังหาริมทรัพย์นั้นๆ เพื่อประโยชน์ของอสังหาริมทรัพย์อื่น การได้มาซึ่งภาระจำยอมนั้นมี 2 ทาง คือ โดยผลของกฎหมายและโดยนิติกรรม

ได้มาโดยผลของกฎหมาย ตัวอย่างเช่นการที่ นาย A เดินหรือขับรถผ่านที่ดินของนาย B เพื่อออกไปทำงานเป็นประจำด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ ติดต่อกันเป็นเวลา 10 ปี กรณีเช่นนี้นาย A ได้ภาระจำยอมเหนือที่ดินนาย A คือมีสิทธิเดินผ่านที่ดินนาย B ได้ โดยนาย B ไม่มีสิทธิที่จะห้ามไม่ให้นาย A ใช้ทางดังกล่าว หรือ ในกรณีที่นาย A ปลูกสร้างบ้านโดยสุจริต เมื่อสร้างเสร็จ ปรากฏว่าตัวบ้านบางส่วนรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของนาย B กรณีเช่นนี้นาย A ได้ภาระจำยอมเหนือที่ดินนาย B โดยผลของกฎหมาย ซึ่งนาย A ไม่จำเป็นต้องรื้อส่วนที่รุกล้ำแต่อย่างใด เพียงแต่ต้องจ่ายเงินค่าใช้ที่ดินให้แก่นาย B เป็นค่าใช้ที่ดิน

การได้มาโดยนิติกรรม ตัวอย่างเช่น  นาย A ขายที่ดินให้นาย B และตกลงว่าให้นาย B เดินผ่านที่ดินของนาย A เพื่อออกสู่ทางสาธารณะได้กรณี เช่นนี้นาย B ได้ภาระจำยอมเหนือที่ดินของนาย A ทางจำเป็น  คือ การที่ที่ดินแปลงหนึ่งถูกที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ หรือมีทางออกแต่ต้องข้าม สระ บึง หรือทะเล หรือที่สูงชันกว่าทางสาธารณะมาก กฎหมายได้กำหนดให้สิทธิแก่เจ้าของที่ดินแปลงที่ถูกล้อมให้มีสิทธิเดินผ่านที่ดินแปลงอื่นที่ล้อมอยู่เพื่อออกสู่ทางสาธารณะได้ ตัวอย่างเช่นการที่ นาย A ซื้อที่ดินมา 1 แปลง แต่เป็นที่ดินตาบอดไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะได้ เพราะถูกที่ดินของนาย B ล้อมอยู่ กรณีเช่นนี้ นาย A มีสิทธิที่จะได้ ทางจำเป็นจากที่ดินของนาย B คือการผ่านที่ดินของนาย B ออกสู่ทางสาธารณะได้

ภาระจำยอมเป็นบทบัญญัติที่ไม่มีการจำกัดระยะเวลาเหมือนทรัพยสิทธิประเภทอื่น ดังนั้นการทำนิติกรรมที่ก่อให้เกิดภาระจำยอมต้องกำหนดเงื่อนไขไว้ให้ชัดเจน เช่นขนาดความกว้างความยาว การให้ยานพาหนะผ่านได้หรือไม่ หรือการกำหนดว่าให้หมดภาระจำยอม เมื่อมีการโอนสามยทรัพย์ให้บุคคลอื่น

นอกจากนี้ภาระจำยอมอาจเกิดโดยทางนิติกรรม และโดยอายุความทางนิติกรรมจะทำได้โดยการตกลงกันระหว่างเจ้าของที่ดินแปลงที่จะจดเป็นภาระจำยอม และแปลงที่จะได้ประโยชน์จากภาระจำยอม โดยต้องจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ส่วนภาระจำยอมที่เกิดจากอายุความ จะเกิดจากการที่ที่ดินแปลงหนึ่งได้ใช้ประโยชน์ในที่ดินอีกแปลงหนึ่งโดยสงบ เปิดเผย และมีเจตนาเพื่อใช้ประโยชน์ของภาระจำยอม ติดต่อกันเป็นระยะเวลาเกิน 10 ปี ก็จะได้ภาระจำยอมโดยอายุความเช่นกัน

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

Go to full version