Pages:
Actions
  • #1 by cpchomza on 17 Jan 2013
  • ต้องนับว่าเป็นบุญของคนกรุงเทพฯ ที่มีการคมนาคมที่สะดวกกว่าทุกภาค อาจเป็นเพราะที่นี่เป็นศูนย์กลางการค้า การส่งออก เศรษฐกิจ การศึกษา และมีประชาชนจากต่างจังหวัดมาหางานทำเยอะ คนกรุงเทพฯ ก็ทำงานที่กรุงเทพฯ แยะ เลยต้องเอาใจกันหน่อย แถมยังมีเมืองหลวงอยู่ที่นี่ซะด้วย เลยต้องเป็นศูนย์รวมทุกอย่าง ครั้นจะให้การคมนาคมลำบากคงไม่ดีแน่ ผู้ใหญ่ใจดีเลยสร้างระบบรถไฟฟ้าทั้งบนดินและใต้ดินเพื่ออำนวยความสะดวก และเพื่อแก้ปัญหารถติด ซึ่งก็ช่วยให้เราไม่ต้องผจญรถติดไปทำงานได้หลายล้านคน เรามาดุดีกว่าว่ารถไฟฟ้ามีเส้นไหนที่เราใช้เป็นประจำบ้าง

    ตอนนี้ที่เราเห็นๆ ก็มีรถไฟฟ้าใต้ดินสายสีน้ำเงินที่เดินทางจากบางซื่อไปสุดสายที่หัวลำโพง อนาคตก็ก็จะมีส่วนต่อขยายอีก ส่วนรถไฟลอยฟ้า ก็เดินทางไปถึงโน่น แบริ่งแล้ว อนาคตก็จะมีส่วนต่อขยายอีก และก็จะมีรถไฟสายสีเขียว สายสีส้ม สายสีชมพู และสายอื่นๆ ขึ้นมาตามลำดับ ซึ่งนับว่าเป็นบุญของพวกเราจริงๆ แต่ทั้งนี้ไม่รู้ว่าจะช่วยลดโลกร้อนจากก๊าซคาร์บอนมอนอกไซค์ได้มากไหม เพราะทุกวันนี้เราจะเห็นต่างคนต่างขับรถมาทำงานหรืออกนอกบ้านกันเป็นทิวแถว รถติดกระหน่ำ

    ปัจจุบันรถไฟฟ้าบีทีเอส มีเส้นทางให้บริการทั้งหมด 2 สาย คือ สายสุขุมวิท (สายสีเขียวอ่อน) มีทั้งหมด 21 สถานี ได้แก่ หมอชิต  สะพานควาย อารีย์ สนามเป้า  อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ  พญาไท ราชเทวี  ชิดลม  เพลินจิต  นานา  อโศก  พร้อมพงษ์  ทองหล่อ  เอกมัย  พระโขนง  อ่อนนุช บางจาก ปุณณวิถี อุดมสุข บางนา แบริ่ง

    สายสีลม (สายสีเขียวเข้ม) มีทั้งหมด 8 สถานี ได้แก่  สนามกีฬาแห่งชาติ  ราชดำริ  ศาลาแดง  ช่องนนทรี  สุรศักดิ์  สะพานตากสิน  กรุงธนบุรี  วงเวียนใหญ่ โดยทั้ง 2 สาย จะมีสถานีสยาม เป็นสถานีกลางในการเปลี่ยนขบวน

    อนาคตภายใน 6 ปีครับ เราจะมีรถไฟฟ้าใช้ครอบทุกเส้นทางในกทม.


    สายสีเขียวอ่อน (พรานนก-สมุทรปราการ)
    พัฒนาระบบเพิ่มเติมจากแนวเส้นทางรถไฟฟ้า BTS ซึ่งปัจจุบันเปิดดำเนินการอยู่ในสายสีลมและสายสุขุมวิท แยกเป็นช่วงต่างๆ ดังนี้
    อ่อนนุช-สำโรง-สมุทรปราการ ต่อขยายเส้นทางจากสถานีอ่อนนุชซึ่งจะเป็นโครงสร้างยกระดับโดยตลอด ไปตามถนนสุขุมวิท ซึ่งเป็นถนน 6 ช่องจราจรแบบมีเกาะกลาง ผ่านสำโรงไปจนถึงสมุทรปราการ
    พระราม 1-ปิ่นเกล้า-จรัญสนิทวงศ์ ต่อขยายเส้นทางจากสถานีสนามกีฬา เป็นโครงสร้างยกระดับและเริ่มลดระดับลงมาอยู่ใต้ดินเป็นโครงสร้างอุโมงค์ ในแนวถนนบำรุงเมือง เข้าสู่แนวถนนราชดำเนินกลาง และลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณเชิงสะพานปิ่นเกล้า ไปจนถึงสถานีรถไฟธนบุรี แล้วเข้าสู่แนวถนนพรานนก และจะเริ่มยกระดับเมื่อเลยแยกพรานนกไปจนถึงถนนจรัญสนิทวงศ์

    สายสีเขียวแก่ (สะพานใหม่-บางหว้า)
    พัฒนาระบบเพิ่มเติมจากแนวเส้นทางรถไฟฟ้า BTS เช่นเดียวกับสายสีเขียวอ่อน แยกเป็นช่วงต่างๆ ดังนี้
    หมอชิต-สะพานใหม่ ต่อขยายเส้นทางจากสถานีหมอชิต เป็นโครงสร้างยกระดับโดยตลอด ข้ามแยกลาดพร้าว ไปตามถนนพหลโยธิน ซึ่งเป็นถนน 6 ช่องจราจรแบบมีเกาะกลาง ไปจนถึงบริเวณสะพานใหม่
    สะพานตากสิน-ถนนตากสิน-เพชรเกษม ต่อขยายเส้นทางจากสถานีสะพานตากสิน ซึ่งจะเป็นโครงสร้างยกระดับโดยตลอด ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ไปตามถนนกรุงธนบุรี และวิ่งขนานไปตามแนวถนนตากสิน-เพชรเกษม ไปจนถึงถนนเพชรเกษม โดยปัจจุบันได้ดำเนินการก่อสร้างไปแล้วในช่วง จากสถานีตากสิน-ถนนตากสิน

    สายน้ำเงิน (วงแหวนรอบในและช่วงท่าพระ-บางแค)
    พัฒนาระบบเพิ่มเติมจากแนวเส้นทางรถไฟฟ้าของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ซึ่งกำลังจะเปิดทดลองให้บริการในวันที่ 13 เมษายน 2547 ช่วงจากสถานีหัวลำโพง-สถานีบางซื่อ สำหรับเส้นทางนี้แยกเป็นช่วงต่างๆ ดังนี้

    หัวลำโพง-ท่าพระ เป็นการต่อขยายเส้นทางจากช่วงหัวลำโพง-บางซื่อ ให้สามารถเดินรถได้ในลักษณะเป็นวงรอบ โดยขยายเส้นทางในด้านฝั่งตะวันตกของกรุงเทพมหานคร ซึ่งจะเริ่มจากสถานีหัวลำโพง เป็นโครงสร้างอุโมงค์ไปตามแนวถนนเจริญกรุง เลี้ยวซ้ายเข้าแนว ถนนสนามไชย ลอดเกาะรัตนโกสินทร์ และลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยา แล้วจะเริ่มยกระดับขึ้นเป็นโครงสร้างยกระดับบริเวณสี่แยกท่าพระ
    บางซื่อ-ท่าพระ เป็นการต่อขยายเส้นทางจากช่วงหัวลำโพง-บางซื่อ ให้สามารถเดินรถได้ในลักษณะเป็นวงรอบ โดยขยายเส้นทางในด้านฝั่งตะวันตกของกรุงเทพมหานคร ซึ่งจะเริ่มจากสถานีบางซื่อแล้วยกระดับขึ้นมาเป็นโครงสร้างยกระดับตามแนว ถนนประชาราษฎร์ สาย 2 จนข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาแล้วเลี้ยวลงมาตามแนว ถนนจรัญสนิทวงศ์ และวิ่งยกระดับไปจนถึงสี่แยกท่าพระ

    ท่าพระ-บางแค เป็นการต่อขยายเส้นทางโดยเริ่มจากสถานีท่าพระ เป็นโครงสร้างยกระดับไปตามแนวถนนเพชรเกษมซึ่งเป็นถนน 6 ช่องจราจรแบบมีเกาะกลาง โดยตลอดจนถึงถนนกาญจนาภิเษก (วงแหวนรอบนอกฝั่งตะวันตก) บริเวณบางแค

    สายสีม่วง (บางใหญ่-ราษฎร์บูรณะ)
    พัฒนาระบบของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) แยกเป็นช่วงต่างๆ ดังนี้
    บางซื่อ-พระนั่งเกล้า-บางใหญ่ เริ่มบริเวณวงแหวนรอบนอกฝั่งตะวันตก ซึ่งจะเป็นโครงสร้างยกระดับมาตามแนวถนนรัตนาธิเบศร์ จนถึงสะพานพระนั่งเกล้า ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา แล้วมาตามถนนรัตนาธิเบศร์ และเปลี่ยนแนวลงมาทางถนนติวานนท์ และถนนประชาราษฎร์ถึงบริเวณเตาปูน

    บางซื่อ-สามเสน-ราษฎร์บูรณะ เป็นแนวที่กำหนดใหม่ในบางส่วนคือช่วงจากบางซื่อ-สามเสน โดยเป็นโครงสร้างยกระดับต่อเนื่องมาตามถนนประชาราษฎร์ และเริ่มลดระดับลงใต้ดิน เป็นโครงสร้างอุโมงค์เปลี่ยนมาเข้าแนวถนนประชาราษฎร์สาย 1 ต่อเนื่องมาถึงถนนสามเสน เลี้ยวเข้า ถนนพระสุเมรุ ถนนมหาไชย ถนนจักรเพชร แล้วเบี่ยงแนวออกเพื่อหลบสะพานพระปกเกล้า ลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยา เข้าสู่แนวถนนประชาธิปก ต่อเนื่องมาถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน ถนนสุขสวัสดิ์ และเริ่มยกระดับขึ้นมาเมื่อเลยแยกบางปะแก้วแล้ว ไปจนถึงบริเวณราษฎร์บูรณะ

    สายสีส้ม (บางกะปิ-บางบำหรุ)
    พัฒนาระบบของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) แยกเป็นช่วงต่างๆ ดังนี้
    บางซื่อ-สามเสน เริ่มต้นบริเวณบางกะปิ เป็นโครงสร้างอุโมงค์ลอดใต้แยกลำสาลี ไปตามแนวถนนรามคำแหง ซึ่งเป็นถนน 8 ช่องจราจรแบบมีเกาะกลาง และจะเป็นโครงสร้างอุโมงค์ ไปตลอดจนเข้าแนวถนนพระราม 9 ต่อเนื่องไปถนนดินแดง ถนนราชวิถี ถึงบริเวณสามเสน
    สามเสน-บางบำหรุ ต่อขยายเส้นทางที่มาจากบางกะปิ โดยเริ่มจากสามเสน ซึ่งยังเป็นโครงสร้างอุโมงค์ มุดลอดแม่น้ำเจ้าพระยา ไปตามแนวสะพานกรุงธน และจะเริ่มเป็นโครงสร้างยกระดับ เมื่อพ้นแนวถนนจรัญสนิทวงศ์ไปแล้ว จากนั้นวิ่งไปตามแนวถนนสิรินธร จนไปเชื่อมกับแนวรถไฟสายใต้บริเวณสถานีบางบำหรุ
    สายสีแดงเข้ม (รังสิต-มหาชัย)
    พัฒนาระบบตามแนวเส้นทางรถไฟของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) แยกเป็นช่วงต่างๆ ดังนี้

    หัวลำโพง-บางซื่อ-รังสิต เป็นแนวเส้นทางรถไฟสายเหนือในปัจจุบัน โดยช่วงจากหัวลำโพง-ยมราช มีจำนวนราง 3 ราง และจากยมราช-รังสิต มีจำนวนราง 2 ราง มีเขตทางกว้างประมาณ 40-80 เมตร โดยเริ่มจากหัวลำโพง ผ่านแยกกษัตริย์ศึก และเริ่มยกระดับข้ามแยกยมราช ไปถึงบางซื่อ จากนั้นไปตามแนวถนนวิภาวดีรังสิตจนถึงบริเวณสถานีดอนเมืองและเริ่มลดระดับลงไปสู่พื้นดิน จนถึงรังสิต

    หัวลำโพง-วงเวียนใหญ่-มหาชัย เป็นแนวเส้นทางรถไฟแม่กลองในปัจจุบัน โดยช่วงจาก วงเวียนใหญ่-มหาชัย มีจำนวนราง 1 ราง มีเขตทางกว้างประมาณ 14-15 เมตร แนวเส้นทางที่จะพัฒนาเริ่มจากสถานีหัวลำโพง เป็นโครงสร้างยกระดับ ออกมาตามแนวถนนมหาพฤฒาราม ริมคลองผดุงกรุงเกษม และข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณใกล้ศูนย์การ ค้าริเวอร์ซิตี้ เพื่อมาเข้าแนวถนนลาดหญ้า และเลี้ยวออกไปบนแนวถนนเจริญรัถ เพื่อหลบอนุสาวรีย์พระเจ้าตากสิน แล้วข้ามถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน เพื่อเข้าไปตามทางรถไฟสายแม่กลองเดิมและลดระดับลงสู่ระดับดิน บริเวณตลาดพลู และวิ่งตามไปตามแนวทางรถไฟเดิมจนถึงมหาชัย

    สายสีแดงอ่อน (ตลิ่งชัน-สุวรรณภูมิ) พัฒนาระบบตามแนวเส้นทางรถไฟของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) แยกเป็นช่วงต่างๆ ดังนี้ ยมราช-มักกะสัน-สุวรรณภูมิ เป็นแนวเส้นทางรถไฟสายตะวันออกในปัจจุบันโดยช่วงจากยมราช-หัวหมาก มีจำนวนราง 1 ราง และจากหัวหมาก-ลาดกระบัง มี 3 ราง มีเขตทางกว้างประมาณ 40 เมตร โดยเริ่มจากบางซื่อ หัวลำโพง ผ่านแยกกษัตริย์ศึก และเริ่มยกระดับข้ามแยกยมราช วิ่งขนานไปตามแนวถนนเพชรบุรี ผ่านถนนศรีนครินทร์ ถนนกรุงเทพกรีฑา และเริ่มลดระดับลงสู่พื้นดิน ไปจนถึงสถานีลาดกระบัง และยกระดับอีกครั้ง ข้ามถนนอ่อนนุช เพื่อจะเข้าสู่สนามบินสุวรรณภูมิ จากนั้นลดระดับลงสู่พื้นดินและลงใต้ดินเพื่อเข้าสู่สนามบิน

    บางซื่อ-ตลิ่งชัน-วงแหวนรอบนอก เป็นแนวเส้นทางรถไฟสายตะวันตกในปัจจุบัน โดยช่วงจากบางซื่อ-วงแหวนรอบนอก มีจำนวนราง 2 ราง มีเขตทางกว้างประมาณ 80 เมตร โดยเริ่มออกจากบางซื่อไปตามทางรถไฟเดิม และเริ่มยกระดับเพื่อข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา และจะลดลงสู่ระดับดินเมื่อข้ามถนนจรัญสนิทวงศ์แล้ว จากนั้นก็จะวิ่งระดับดินไปโดยตลอด
Pages:
Actions