Pages:
Actions
  • #1 by poohbaza on 15 Dec 2011
  • ผมว่าช่วงหลังเราเห็นคนทำบ้านไม้กันมากขึ้น คงเพราะสภาพอากาศในปัจจุบันการใช้ไม้ทำให้ตัวบ้านไม่อมความร้อน แถมยังเก็บควาเย็นไว้ภายในบ้านได้เป็นอย่างดี อีกอย่างแบบไม้ลายไม้นี่โคตรทนทานนานปียิ่งกว่าบ้านปูนอีก แถมท้ายอีกอย่าง บ้านไม้ยังให้ความรู้สึกแบบไทยๆ จนเกินกว่าที่บ้านปูนจะสามารถให้ความรู้สึกดีๆ แบบนั้นได้ หากคุณเบื่อกับบ้านคอนกรีต ที่ดูแข็งๆ ทื่อๆ ไม่อ่อนช้อย ไม่สวยงามเท่าไหร่ ไม่เป็นธรรมชาติ เวลาเรามองไปทางไหนก็พบแต่บ้านคอนกรีต ดูเกร่อไปหมด ไม่มีความแตกต่างอะไรเลย แล้วคุณก็นึกอยากได้บ้านไม้บ้าง ดูมีมนต์เสน่ห์ มีมนต์ขลังดี เวลาเดินเข้ามาแล้วรู้สึกถึงความอบอุ่น ซึ่งเราสามารถเลือกแบบบ้านไม้ได้ทั้งยกใต้ถุนสูง บ้านไม้ชั้นเดียว บ้านไม้สองชั้น


    แบบบ้านไม้ชั้นเดียวนี้ ออกแบบมาอย่างอลังการ เป็นสไตล์โมเดิร์น โดย สถาปนิก CplusC การออกแบบเป็นไปอย่างลงตัว ในพื้นที่ 2,790 ตารางฟุต ใช้เวลาในการสร้าง 6 เดือน มีสองห้องนอน พร้อมตกแต่ง Built-in ห้องน้ำ ห้องซักรีด ห้องครัว พื้นที่ดาดฟ้า บ้านดังกล่าว เหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่ต้องการพื้นที่ความเป็นส่วนตัว ตัวบ้าน ตั้งอยู่บนเนินเขา การออกแบบจึงต้องมีบันไดเพื่อสามารถขึ้นสู่ตัวบ้าน บันได และขอบรั้ว แบบบ้านส่วนใหญ่ทำจากไม้และมีแผงเหล็กกั้นปิดบ้านอีกหนึ่งชั้น ห้องนั่งเล่น จัดไว้บริเวณหน้าบ้าน ตกแต่งด้วยเฟอร์นิเจอร์ไม้ เพื่อให้ดูเข้ากับตัวบ้าน สามารถนั่งรับลมได้ตลอดทั้งวัน

    หากอยากจะได้ความเป็นไทยแท้ ก็ลองเลือกแบบบ้านไม้ที่เป็นเรือนพื้นเมืองของล้านนาอีกรูปแบบหนึ่งที่วิวัฒนาการไปจากเรือนกาแล รูปแบบหรือลักษณะทางกายภาพของเรือนประเภทนี้ เกิดจากการผสมผสานทางวัฒนธรรมการปลูกสร้างแบบดั้งเดิมกับวัฒนธรรมที่ชาวล้านนาได้รับจากภายนอก ซึ่งช่างล้านนาได้รับระบบวิธีการปลูกสร้างและ รูปแบบของถิ่นภาคกลางตั้งแต่รัชกาลที่ 5 มาผสมผสานกันได้ลงตัว เช่นหลังคาจั่วมุงกระเบื้อง เรือนไม้บางหลังมีการนำเอาระเบียบวิธีการตกแต่งลายฉลุไม้แบบ ขนมปังขิง (gingerbread) มาตกแต่งประดับจั่วหลังคาและเชิงชายตามแบบอิทธิพลช่าง ไทยภาคกลางที่รับมาจากตะวันตกที่แพร่หลายจากปลายรัชกาลที่ 5 จนถึงรัชกาลที่ 6 ชาวล้านนาเรียกเรือนประเภทประดับลายฉลุไม้นี้ว่า “เรือนทรง สะละไน” ซึ่งมักเป็นเรือนของพวกคหบดีคนมีเงิน เรือนล้านนาประเภทนี้ รูปทรงภายนอกของเรือนจะผันแปรไปตามสมัยนิยม โดยเฉพาะลักษณะฝา ระเบียบการเจาะช่องประตูหน้าต่าง การขึ้นทรง หลังคาที่มีระนาบซับซ้อน เป็นการแสดงถึง อัจฉริยภาพของช่างพื้นเมืองที่รู้จักประสานประโยชน์จากความรู้กับเทคนิควิทยาการช่างที่ได้รับ มาจากต่าง ถิ่นได้อย่างกลมกลืน

    ส่วนเรือนล้านนาที่ผสมผสานกัน ระหว่างรูปแบบเก่ากับรูปแบบใหม่ทันสมัยในปัจจุบัน เรียกว่า "เฮือนสมัยก๋าง" (เรือนสมัยกลาง) คืออยู่ระหว่าง " เฮือนบ่าเก่า" กับเรือนแบบสากลยุคใหม่ที่ชาวบ้านเรียกว่า "เฮือนสมัย" (เรือนสมัยใหม่) หรือที่เรียกอีกอย่างว่า "เฮือนบ่ใจ้ฮ่างปึ๊นเมือง" (เรือนไม่ใช่ ทรงพื้นเมือง) เฮือนสมัยมักจะมีแบบอิทธิพลตะวันตกเข้ามาประกอบรูปทรง  มีบทบาทในการเปลี่ยนรูปแบบเรือนพักอาศัยให้ทันสมัยมาก
Pages:
Actions