ทำเลดีดอตคอม

เว็บบอร์ดชุมชนคนรักบ้าน => ราคา เช็คราคา เรื่องรอบบ้าน => Topic started by: cpchomza on 13 ตุลาคม 2015, 08:30

Title: เตียงนอนยางพาราดีไหมเลือกยังไงให้ได้ของถูกและดี
Post by: cpchomza on 13 ตุลาคม 2015, 08:30
เตียงนอนยางพาราดีไหมเลือกยังไงให้ได้ของถูกและดี มีคนจำนวนไม่น้อยคิดว่าการซื้อที่นอนแพงๆเป็นเรื่องสิ้นเปลืองเพราะใช้แค่นอนอย่างเดียว จึงหันไปซื้อเตียงนอนหน้าตาสวยๆ ราคาแพงๆ แทน จริงๆ แล้วเรานอนบนที่นอน ไม่ได้นอนบนเตียงนอนเสียหน่อย ยิ่งหากเรานำราคาที่นอนไปหารกับจำนวนวันที่ใช้นอน ก็ถือว่าคุ้มค่าพอที่จะลงทุนกับที่นอนดีๆ สักผืนประเทศไทยมีอัตราการส่งออกผลผลิตยางพาราทั้งน้ำยางข้น น้ำยางแผ่นและยางแปรรูปอื่นๆ มูลค่านับแสนล้านบาทต่อปี เรียกได้ว่าเป็นอันดับหนึ่งในประเทศกลุ่มเอเชียแปซิฟิก แน่นอน เรามีวัตถุดิบชั้นดีอยู่แล้ว จึงค่อนข้างแน่ชัดว่าที่นอนยางพาราในบ้านเราย่อมมีคุณภาพไม่แพ้ใคร แต่ประเด็นสำคัญคือ เลือกอย่างไรให้ได้ของดี

ที่นอนยางพาราหรือ Latex Foam มีให้เลือกหลายแบบ ทั้งแบบฟองน้ำสังเคราะห์ผสมโฟมยางพารา แบบที่นอนใยมะพร้าวผสมยางพารา และแบบที่นอนยางพาราร้อยเปอร์เซ็นต์ ข้อดีของที่นอนประเภทนี้คือ อายุการใช้งานยาวนานตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป ช่วยลดการกดทับและโอบอุ้มสรีระได้ดี ไม่เป็นที่สะสมของแบคทีเรียและไรฝุ่น วันนี้เราจึงมีวิธีเลือกที่นอนยางพาราคุณภาพดีมาฝาก

ที่นอนยางพาราที่ดีต้องไม่หนักจนเกินไป อย่างน้อยต้องยกมุมด้านใดด้านหนึ่งได้สบาย หากที่นอนเบาเกินเหตุ อาจตั้งข้อสังเกตได้ว่าเป็นโฟมหรือพอลิยูรีเทน แต่หากหนักเกินไป อาจเป็นโฟมยางอัดเหลือใช้ขึ้นรูปใหม่ด้วยการอัดกาว สำหรับวิธีเทียบน้ำหนักยางพารามีสูตรง่ายๆ คือ ใช้ขนาดกว้างยาว และหนา (หน่วยเป็นเซนติเมตร) มาคูณกัน แล้วหารด้วย 1,000,000 จากนั้นคูณด้วยค่า Density หรือหน่วยแทนค่าความหนาแน่นของยางพาราแท้ซึ่งโรงงานบอกมา จะได้น้ำหนักจริงๆ ของยางพารา

มีคนเคยบอกว่า ต้องหมั่นกลับที่นอนทุกเดือนเพื่อการใช้งานที่ยาวนานแต่ที่นอนยางพาราอาจไม่จำเป็นต้องทำอย่างนั้น เพราะนอกจากน้ำหนักที่มากแล้ว ที่นอนชนิดนี้ยังออกแบบมาเพื่อระบายอากาศได้เอง และยางพาราก็มีคุณสมบัติไม่เก็บความชื้นและไม่สะสมแบคทีเรีย จึงไม่จำเป็นต้องกลับด้านบ่อยๆ ที่สำคัญ อย่านำไปตากแดดจัดเด็ดขาด เพราะอาจได้ก้อนยางแข็งๆ กลับมาแทน

ที่นอนยางพาราแบบผสมเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ทำให้ราคาที่นอนยางพาราถูกลงและมีน้ำหนักเบากว่า แต่ข้อเสียคือ การใช้งานจะไม่ยาวนานเท่ายางพาราแท้ และบางครั้งอาจยุบตัวได้เร็วกว่าด้วย